fbpx
ThaiForexPro
  • Home
  • Forex EA
  • Forex Indicators
  • Best Forex Brokers
  • Trading System
  • Forex Articles
    • Forex Basics
    • Metatrader 4
    • Metatrader 5
    • Psychology & Money Management
    • Sentiment Strategy
    • Trading Tips
  • More
    • Contact Us
No Result
View All Result
SUBSCRIBE
ThaiForexPro
  • Home
  • Forex EA
  • Forex Indicators
  • Best Forex Brokers
  • Trading System
  • Forex Articles
    • Forex Basics
    • Metatrader 4
    • Metatrader 5
    • Psychology & Money Management
    • Sentiment Strategy
    • Trading Tips
  • More
    • Contact Us
No Result
View All Result
ThaiForexPro
No Result
View All Result
Home บทความ Sentiment Strategy

Inflation rate

Admin1 by Admin1
25 January 2021
in Sentiment Strategy, บทความ
0
Inflation rate
74
SHARES
1.2k
VIEWS
Share on FacebookShare on Twitter

เนื้อหาในบทความนี้

  • อัตราเงินเฟ้อ
    • อัตราเงินเฟ้อส่งผลต่อตลาดเงินอย่างไร
    • เหตุใดอัตราเงินเฟ้อจึงสำคัญ
    • การประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อต่างๆ
    • ผลกระทบที่อัตราเงินเฟ้อมีต่อตลาดเงิน

อัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อสามารถทำให้ค่าเงินปรับตัวลดลงได้อย่างรวดเร็วเพราะเมื่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศมีมูลค่าลดลง การดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่ควบคุมนั้นเป็นงานของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลาง มาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุกันเถอะ

อัตราเงินเฟ้อส่งผลต่อตลาดเงินอย่างไร

ระดับอัตราเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีบทบาทในการกำหนดความแข็งค่าของสกุลเงิน เพราะอัตราเงินเฟ้อมีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลาง

การที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจะกดดันให้ธนาคารกลางพิจารณาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก

  • อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำเกินไปจะทำให้เศรษฐกิจเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว
  • อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไปจะลดทอนมูลค่าเงินที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจ

ธนาคารกลางมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยูในระดับต่ำและไม่ผันผวน โดยมักเป็นอำนาจหน้าที่หลักของบรรดาธนาคารกลาง

กรอบข้อความ: ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อลดลงและภาวะเงินฝืด

  • ภาวะเงินเฟ้อ – คือการที่ระดับราคาทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไป ซึ่งโดยปกติมักจะวัดเป็นรายปี
  • ภาวะเงินเฟ้อลดลง – คือการที่ยังมีภาวะเงินเฟ้อในเศรษฐกิจแต่ระดับเงินเฟ้อกำลังลดลง โดยระดับราคาทั่วไปจะยังคงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไปแต่จะอยู่ในระดับต่ำลง ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในภาวะเงินเฟ้อซึ่งก่อนหน้านี้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 2.0% จากนั้นก็ลดลงมาเป็น 1.5% แล้วตกลงมาที่ 1.0% ในภายหลังจะกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ภาวะเงินเฟ้อต่ำลงหรือภาวะเงินเฟ้อลดลง
  • ภาวะเงินฝืด – คือการที่อัตราเงินเฟ้อติดลบ โดยระดับราคาทั่วไปจะปรับตัวลดลงตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไป ซึ่งถือเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจ สิ่งที่น่ากังวลก็คือเมื่อผู้บริโภคยอมรับว่าภาวะเงินฝืดกำลังเกิดขึ้น จะทำให้การใช้จ่ายชะลอตัวลงเพราะเชื่อว่าราคาสินค้าจะต่ำลงอีกในอนาคต

เหตุใดอัตราเงินเฟ้อจึงสำคัญ

ธนาคารกลางจะพิจารณาอัตราเงินเฟ้อและใช้เป็นเกณฑ์หลักในการดำเนินนโยบายการเงิน ธนาคารกลางที่เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นจะระมัดระวังว่าอาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมราคาสินค้า การที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะทำให้การกู้ยืมมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงช่วยยับยั้งอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจ จากนั้น การที่อุปสงค์ลดลงจะเริ่มสร้างแรงกดดันในเชิงลบต่อระดับราคาสินค้าทั่วไปและทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับปานกลางอีกครั้ง

ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายการเงิน ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มี “หน้าที่สำคัญสองประการ” ตามที่กฎหมาย Federal Reserve Act ปี 1977 บัญญัติไว้

หนึ่งในหน้าที่สำคัญสองประการก็คือการส่งเสริมเสถียรภาพทางราคาและอีกหนึ่งหน้าที่จะเกี่ยวกับการดูแลอัตราการว่างงานให้อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เฟดได้ตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 2% ซึ่งได้รับอำนาจในการดำเนินการให้บรรลุเป้าดังกล่าว นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษก็ตั้งเป้าดัชนีราคาผู้บริโภคไว้ที่ 2% ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปมีหน้าที่ดูแลอัตราเงินเฟ้อให้ “ต่ำกว่า 2% เพียงเล็กน้อย”

การประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อต่างๆ

มีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจหลายตัวตลอดเดือนซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อแก่คุณ การที่ข้อมูลชี้วัดเหล่านี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลบวกต่อค่าเงินของประเทศ แต่จะส่งผลลบต่อราคาตราสารหนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลสำคัญที่จะต้องติดตามได้แก่

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

ข้อมูลชี้วัดตัวนี้เป็นเกณฑ์วัดอัตราเงินเฟ้อในนานาประเทศที่ได้รับการยอมรับและจะส่งผลกระทบต่อตราสารหนี้และค่าเงินของประเทศเป็นอย่างมาก CPI ที่เป็นข้อมูลดิบจะรวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน ดังนั้น CPI พื้นฐานจึงมักเป็นเกณฑ์วัดอัตราเงินเฟ้อที่ดีกว่าเนื่องจากจะเจาะลึกและปรับสำหรับปัจจัยที่ผันผวน หาก CPI ที่เป็นข้อมูลดิบยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ CPI พื้นฐานกำลังเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลต่อตลาด เงิน และตราสารหนี้ คุณควรติดตามดูตัวเลขทั้งคู่และให้ความสนใจข้อมูลที่เทียบช่วงเดียวกันของปีนี้กับปีก่อนหน้าเป็นหลัก

รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE)

PCE เป็นข้อมูลชี้วัดของสหรัฐฯ และเป็นวิธีประเมินอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ เพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคคิดเป็น 70% ของมูลค่าการใช้จ่ายขั้นสุดท้ายในสหรัฐฯ

ค่าเฉลี่ยการเติบโตของรายได้

ข้อมูลชี้วัดนี้จะแสดงว่าค่าจ้างแรงงานกำลังเติบโตมากเพียงใด ค่าเฉลี่ยการเติบโตของรายได้เป็นองค์ประกอบสำคัญในภาวะเศรษฐกิจของประเทศตามหลักการที่ว่าการเติบโตของค่าจ้างแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดคุณภาพชีวิต หากการเติบโตของรายได้ (ตามที่เรียกกัน) สูงกว่า CPI อย่างต่อเนื่อง ค่าจ้างแรงงานตามจริงจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณภาพชีวิตของผู้คนก็จะดีขึ้นในภาพรวม

อย่างไรก็ตาม การเติบโตที่แข็งแกร่งของค่าจ้างแรงงานยังน่าจะเป็นข้อมูลชี้วัดถึงอัตราเงินเฟ้อในอนาคตเนื่องจากผู้คนจะมีเงินใช้จ่ายกันมากขึ้น ในสหรัฐฯ การเติบโตของค่าจ้างแรงงานจะวัดในรายงานสถานการณ์การจ้างงาน (กล่าวคือรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร) เป็น “ค่าเฉลี่ยรายได้รายชั่วโมง” ขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะประกาศพร้อมข้อมูลการจ้างงานโดยวัดเป็น “ค่าเฉลี่ยรายได้รายสัปดาห์”

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)

หรือที่เรียกว่า “อัตราเงินเฟ้อหน้าโรงงาน” จะวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาขายที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศได้รับ ทฤษฎีบ่งชี้ว่าผู้ค้าปลีกจะผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้ผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีการใช้ PPI เพื่อประมาณการ CPI

ดัชนีอัตราค่าจ้างแรงงาน (ECI)

ข้อมูลที่ประกาศรายไตรมาสจะให้การประเมินค่าจ้างแรงงานของลูกจ้างสหรัฐฯ ในวงกว้าง โดยค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนจะคิดเป็น 70% ของค่าจ้างแรงงานทั้งหมด นอกจากนี้ ECI ยังเป็นการประเมินความสามารถในตลาดแรงงาน รวมทั้งบ่งชี้ถึงการเติบโตของรายได้และอัตราเงินเฟ้อ

inflation chart1

ผลกระทบที่อัตราเงินเฟ้อมีต่อตลาดเงิน

ตลาดตราสารหนี้ มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้ออย่างมากเนื่องจากผลกระทบที่อาจมีต่อนโยบายการเงินและการคาดการณ์เกี่ยวกับนโยบายการเงินในอนาคต หากตลาดตราสารหนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น (และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นในภายหลัง) ตราสารหนี้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันในการขาย ซึ่งจะดันให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลง หมายความว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากลักษณะที่ให้รายได้คงที่

ตลาดเงิน จะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในไม่ช้าเช่นกันเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความน่าจะเป็นที่ธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผลที่ตามมาก็คืออุปสงค์สกุลเงินของประเทศจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เกิด “การไหลของเงินร้อน” ดังนั้น ราคาค่าเงินของประเทศจะปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศอื่นๆ

ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อนั้นยังไม่แน่นอน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับขนาดการเปลี่ยนแปลง ทิศทางและระดับอัตราเงินเฟ้อ หากทุกอย่างเป็นไปตามคาด อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยของบริษัทต่างๆ จะเพิ่มขึ้นไปด้วย แม้บริษัทเหล่านี้จะต้องการภาวะที่อัตราดอกเบี้ยลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมจะถูกลง ในที่สุด อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็อาจส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของตลาดเงิน จะไม่มีอะไรที่ชัดเจน

Tags: BBDDeaMAการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย
Share30Tweet19
Admin1

Admin1

Recommended For You

Interest rate and currency

by Admin1
25 January 2021
0
Interest rate and currency

อัตราดอกเบี้ยและค่าเงิน หากคุณเทรดค่าเงิน คุณจะต้องเข้าใจอัตราแลกเปลี่ยน กล่าวคือมูลค่าเงินของประเทศหนึ่งเทียบกับมูลค่าเงินของอีกประเทศหรือภูมิภาค เช่น สหภาพยุโรป คุณต้องใช้เงินปอนด์มากเท่าใดหากต้องการซื้อเงินหนึ่งยูโร เราจะแสดงให้คุณดูว่าเหตุใดคำตอบจึงสำคัญ เมื่อคุณเทรดในตลาดเงิน จะมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาและวิเคราะห์เมื่อตัดสินใจเลือกค่าเงินที่จะเทรด ค่าเงินที่จะซื้อและขาย รวมถึงระดับราคา ค่าเงินได้รับอิทธิพลจาก: ข้อมูลเศรษฐศาสตร์มหภาค การคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศที่ออกสกุลเงิน ภาวะเศรษฐกิจโลกในภาพรวม ผลกระทบจากภูมิศาสตร์การเมือง อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันและที่คาดการณ์ในเศรษฐกิจของประเทศที่ออกสกุลเงิน จากนี้ เราจะอธิบายผลกระทบที่การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยมีต่อค่าเงิน อัตราดอกเบี้ยมีผลกระทบต่อสกุลเงินและค่าเงินอย่างไร พูดโดยรวมก็คือเมื่อตลาดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อค่าเงินของประเทศนั้นๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่การคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับลดในอนาคตกลับมีแนวโน้มที่จะส่งผลตรงกันข้าม แรงผลักดันหลักของความสัมพันธ์ดังกล่าวก็คือการปรับขึ้นดอกเบี้ยมักกระตุ้นให้เงินทุนระยะสั้นไหลเข้ามาในเศรษฐกิจเนื่องจากคาดหวังถึงผลตอบแทนที่ดีกว่าจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้น การปรับลดดอกเบี้ยในอนาคตมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้เงินทุนระยะสั้นไหลออก จึงทำให้ค่าเงินอ่อนลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น...

Read more

Consumer indicators

by Admin1
25 January 2021
0
Consumer indicators

ข้อมูลชี้วัดผู้บริโภค เจาะลึกข้อมูลชี้วัดด้านการใช้จ่ายในอนาคตและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไปกับเรา โดยรวมถึงการสำรวจสำคัญที่วัดเทรนด์ด้านการออมและการบริโภคในครัวเรือน รวมถึงสถานการณ์ทางการเงินที่คาด เหตุใดข้อมูลชี้วัดด้านผู้บริโภคจึงสำคัญต่อกลยุทธ์การเทรดของคุณอย่างยิ่ง เมื่อเศรษฐกิจเติบโตขึ้น การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็จะมีความสำคัญมากขึ้น คุณจึงควรสนใจข้อมูลเศรษฐกิจที่วัดความเชื่อมั่นและการใช้จ่ายของผู้บริโภค การบริโภคในครัวเรือนคิดเป็นประมาณ 68% ของ GDP ในสหรัฐฯ และประมาณ 66% ในสหราชอาณาจักรตามข้อมูลของธนาคารโลก เมื่อพิจารณาภาคบริการในภาพรวม สัดส่วนเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 80% ส่วนภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ ดังนั้นสำหรับทั้งในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร มุมมองต่อผู้บริโภคจึงสำคัญ และถือว่าข้อมูลชี้วัดที่สะท้อนข้อมูลดังกล่าวสำคัญอย่างยิ่ง ในไม่กี่ปีมานี้ หนึ่งในเรื่องใหญ่ของเศรษฐกิจโลกก็คือการปรับสมดุลเศรษฐกิจจีน จีนอยู่ระหว่างการเปลี่ยนผ่านทางโครงสร้างจากการเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิต การส่งออกและการลงทุนอย่างหนัก...

Read more

Housing market indicators

by Admin1
25 January 2021
0
Housing market indicators

ข้อมูลชี้วัดตลาดที่อยู่อาศัย   ศึกษาหนึ่งในข้อมูลชี้วัดที่สำคัญเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและเครื่องมือชี้วัดที่ใช้ประเมิน ซึ่งรวมถึงราคาขายที่อยู่อาศัยและการสำรวจธุรกิจรับสร้างที่อยู่อาศัยที่เก็บข้อมูลความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่ของตลาด บทนำ ความแข็งแกร่งของตลาดที่อยู่อาศัยอาจเป็นข้อมูลชี้วัดที่สำคัญของสภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม ตามกฎทั่วไป เศรษฐกิจที่กำลังรุ่งเรืองจะมีตลาดที่อยู่อาศัยที่แข็งแกร่ง แต่เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ก็จะทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยย่ำแย่ไปด้วย การเปลี่ยนแปลงตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในวิกฤติการเงินทั่วโลกเมื่อปี 2008 ในสหรัฐฯ มีการประกาศรายการจำนวนที่อยู่อาศัยยาวเหยียดตลอดทุกเดือน ซึ่งที่อยู่อาศัยทั้งหมดล้วนมีบทบาทในการบ่งบอกว่าตลาดที่อยู่อาศัยแข็งแกร่งเพียงใด แต่ข้อมูลบางอย่างก็สำคัญกว่าข้อมูลอื่นๆ ข้อมูลชี้วัดที่อยู่อาศัยชั้นนำที่จะต้องติดตามได้แก่: ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย Case Shiller ใบอนุญาตก่อสร้างและการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง ยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่ ยอดขายที่อยู่อาศัยที่รอปิดการขาย เนื่องจากในแต่ละเดือนจะมีการประกาศข้อมูลที่อยู่อาศัยจำนวนมากในสหรัฐฯ จึงอาจเป็นเรื่องง่ายกว่าหากคุณเลือกใช้สัญญาณสำคัญไม่กี่ตัว ใบอนุญาตก่อสร้าง ยอดขายที่อยู่อาศัยใหม่และ...

Read more
Next Post
Central banks and monetary policy

Central banks and monetary policy

Related News

forex-basics

พื้นฐานฟอเร็กซ์ Level 17

25 January 2021
Hundred Signals Buy EURUSD H1

Hundred Signals Buy EURUSD H1

25 January 2021
forex-basics

พื้นฐานฟอเร็กซ์ Level 8.1

25 January 2021

Browse by Category

  • Expert Advisor
  • Featured
  • Forex Basics
  • Forex Broker
  • Indicator
  • Metatrader 4
  • Psychology & Money Management
  • Sentiment Strategy
  • Uncategorized
  • บทความ
  • บทวิเคราะห์
  • บทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์
  • ระบบเทรด
Facebook Youtube Line Twitter Instagram
ThaiForexPro

ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนลงทุนทุกครั้ง ทาง thaiforexpro.com เป็นเพียงผู้ให้บริการข้อมูลการลงทุนในด้าน Forex เท่านั้น ไม่สามารถรับประกันหรือรับผิดชอบผลใดๆ จากการลงทุนของผู้ใช้งานในเว็บไซต์ได้ และทางเราไม่สนับสนุนให้มีการระดมทุนใดๆทั้งสิ้น.

CATEGORIES

  • Expert Advisor
  • Featured
  • Forex Basics
  • Forex Broker
  • Indicator
  • Metatrader 4
  • Psychology & Money Management
  • Sentiment Strategy
  • Uncategorized
  • บทความ
  • บทวิเคราะห์
  • บทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์
  • ระบบเทรด

© 2022 ThaiForexPro - Premium forex community by Trader's Club.

No Result
View All Result
  • Home
  • Forex EA
  • Forex Indicators
  • Best Forex Brokers
  • Trading System
  • Forex Articles
    • Forex Basics
    • Metatrader 4
    • Metatrader 5
    • Psychology & Money Management
    • Sentiment Strategy
    • Trading Tips
  • More
    • Contact Us

© 2022 ThaiForexPro - Premium forex community by Trader's Club.